วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
1.ความหมายและชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในโรงงานต่างเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรกลต่างๆ
ในงานอุตสาหกรรมมอเตอร์มีหลายแบบหลายชนิดที่ใช้ให้เหมาะสมกับงาน
ดังนั้นเราจึงต้องทราบถึงความหมายและชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า
ตลอคุณสมบัติการใช้งานของมอเตอร์แต่ละชนิดเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของมอเตอร์นั้นๆ


1.1ความหมายของมอเตอร์และการจำแนกชนิดของมอเตอร์

มอเตอร์ไฟฟ้า(MOTOR) หมายถึงเป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงพลังงาน
ไฟฟ้ามาเป็นพพลังงานกลมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่นเป็นพลังงานกล
มีทังพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับและพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง


1.2ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้าแบ่งออกตามการใช้ของกระแสไฟฟ้าได้ 2ชนิดดังนี้
1.2.1 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ(Alternating Current Motor) หรือเรียกว่าเอ.ซี มอเตอร์
(A.C. MOTOR)การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าสลับแบ่งออกได้ดังนี้
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น3 ชนิดได้แก่
1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกลเฟสมอเตอร์ (A.C. Sing Phase)
- สปลิทเฟส มอเตอร์(Split-Phase motor)
- คาปาซิเตอร ์มอเตอร์(Capacitor motor)
- รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion-type motor)
- ยูนิเวอร์แวซลมอเตอร์(Universal motor)
- เช็ดเดดโพล มอเตอร์(Shaded-pole motor)
2.มอเตอร์ไฟฟ้าสลับชนิด 2 เฟสหรือเรียกว่าทูเฟสมอเตอร์(A.C.Two phas Motor)
3.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟสหรือเรียกว่าทีเฟสมอเตอร์(A.C. Three phase Motor)
1.2.2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง(Direct Current Motor )หรือเรียกว่าดี.ซี มอเอตร์ (D.C. MOTOR)การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกได้ดังนี้
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
1.มอเตอร์แบบอนุกรมหรือเรียกว่าซีรีส์มอเตอร์(Series Motor)
2.มอเตอร์แบบอนุขนานหรือเรียกว่าชันท์มอเตอร์(Shunt Motor)
3.มอเตอร์ไฟฟ้าแบบผสมหรือเรียกว่าคอมเปาวด์มอเตอร์(Compound Motor)

TOP 2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมี
คุณสมบัติิที่ดีเด่นในด้านการปรับความเร็วได้ตั้งแต่ความเร็วต่ำสุดจนถึงสูงสุด นิยมใช้กันมาก
ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลีเอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะหรือให้ เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า เป็นต้นในการศึกษาเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
จึงควรรู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและเข้าใจถึงหลักการทำงานของ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบต่าง ๆ

2.1 ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่ส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนดังนี้
. 1 ส่วนที่อยู่กับที่หรือที่เรียกว่าสเตเตอร์ (Stator) ประกอบด้วย

1) เฟรมหรือโยค (Frame Or Yoke) เป็นโครงภายนอกทำหน้าที่เป็น
ทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก
จากขั้วเหนื้อไปขั้วใต้ให้ครบวงจร
และยึดส่วนประกอบอื่นๆให้แข็งแรง
ทำด้วยเกล็กหล่อหรือเหล็กแผ่นหนา
ม้วนเป็นรูปทรงกระบอก

ขั้วแม่เหล็ก (Pole)ประกอบด้วย 2 ส่วนคือแกนขั้วแม่เหล็กและขดลวด


ภาพขดลวดพันอยู่รอบขั้วแม่เหล็ก

ส่วนแรกแกนขั้ว(Pole Core)ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ กั้นด้วยฉนวนประกอบกันเป็นแท่ง
ยึดติดกับเฟรม ส่วนปลายที่ทำเป็นรูปโค้งนั้นเพื่อโค้งรับรูปกลมของตัวโรเตอร์เรียกว่าขั้วแม่เหล็ก
(Pole Shoes)มีวัตถุประสงค์ให้ขั้วแม่เหล็กและโรเตอร์ใกล้ชิดกันมากที่สุด
เพื่อให้เกิดช่องอากาศน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดช่องอากาศน้อยที่สุดจะมีผลให้เส้นแรงแม่เหล็ก
จากขั้วแม่เหล็กจากขั้วแม่เหล็กผ่านไปยังโรเตอร์มากที่สุดแล้วทำให้เกิดแรงบิดหรือกำลังบิด
ของโรเตอร์มากเป็นการทำให้มอเตอร์ ์์มีกำลังหมุน(Torque)


ลักษณะของขั้วแม่เหล็ก

ส่วนที่สอง ขดลวดสนามแม่เหล็ก(Field Coil) จะพันอยู่รอบๆแกนขั้วแม่เหล็กขดลวดนี้
ทำหน้าที่รับกระแสจากภายนอกเพื่อสร้างเส้นแรงแม่เหล็กให้เกิดขึ้น และเส้นแรงแม่เหล็กนี้
จะเกิดการหักล้างและเสริมกันกับสนามแม่เหล็กของอาเมเจอร์ทำให้เกิดแรงบิดขึ้น

2 ตัวหมุน (Rotor) ตัวหมุนหรือเรียกว่าโรเตอร์ตัวหมุนนี้ทำให้เกิดกำลังงานมีแกนวางอยู่
ในตลับลูกปืน(Ball Bearing) ซึ่งประกอบอยู่ในแผ่นปิดหัวท้าย(End Plate)ของมอเตอร์

ตัวโรเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ

1.แกนเพลา (Shaft)
2. แกนเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature Core)
3.คอมมิวเตอร์ (Commutator)
4. ขอลวดอาร์มาเจอร์ (Armature Widing)

1.แกนเพลา (Shaft) เป็นตัวสำหรับยืดคอมมิวเตเตอร์ และยึดแกนเหล็กอาร์มาเจอร์
(Armature Croe)ประกอบเป็นตัวโรเตอร์แกนเพลานี้จะวางอยู่บนแบริ่ง เพื่อบังคับ
ใ ห้หมุนอยู่ในแนวนิ่งไม่มีการสั่นสะเทือนได้
2. แกนเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอาบฉนวน
(Laminated Sheet Steel)เป็นที่สำหรับพันขดลวดอาร์มาเจอร์ซึ่งสร้างแรงบิด (Torque)
3. คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) ทำด้วยทองแดงออกแบบเป็นซี่แต่ละซี่มีฉนวน
ไมก้า (mica) คั่นระหว่างซี่ของคอมมิวเตเตอร์ ส่วนหัวซี่ของคอมมิวเตเตอร์ จะมีร่องสำหรับ
ใส่ปลายสาย ของขดลวดอาร์มาเจอร์ ตัวคอมมิวเตเตอร์นี้อัดแน่นติดกับแกนเพลา เป็นรูปกลม
ทรงกระบอ ก มีหน้าที่สัมผัสกับแปรงถ่าน (Carbon Brushes) เพื่อรับกระแสจากสายป้อนเข้า
ไปยัง ขดลวดอาร์มาเจอร์พื่อสร้างเส้นแรงแม่เหล็กอีกส่วนหนึ่งให้เกิดการหักล้างและเสริมกัน
กับเส้นแรงแม่เหล็กอีกส่วน ซึ่งเกิดจากขดลวดขั้วแม่เหล็ก ดังกล่าวมาแล้วเรียกว่า
ปฏิกิริยามอเตอร์ (Motor action)
4. ขดลวดอาร์มาเจอร์ (Armature Winding) เป็นขดลวดพันอยู่ในร่องสลอท (Slot)
ของแกนอาร์มาเจอร์ ขนาดของลวดจะเล็กหรือใหญ่ละจำนวนรอบจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับ
การออกแบบของตัวโรเตอร์ชนิดนั้นๆ เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับงานต่างๆ ที่ต้องการ ควรศึกษาต่อไป
ในเรื่องการพันอาร์มาเจอร์ (Armature Winding) ในโอกาสต่อไป

แปรงถ่าน (Brushes)



แปรงถ่าน
ซองแปรงถ่าน

ทำด้วยคาร์บอนมีรูปร่างเป็นแท่งสี่เหลี่ยมพื้นผ้าุ่ในซองแปรงมีสปิงกดอยู่ด้านบนเพื่อให้ถ่านนี้
สัมผัสกับซี่คอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรับกระแส และส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างขดลวดอาร์มาเจอร์ กับวงจรไฟฟ้าจากภายนอก คือถ้าเป็นมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรงจะทำหน้าที่รับกระแสจากภายนอก
เข้าไปยังคอมมิวเตเตอร ์ให้ลวดอาร์มาเจอร์เกดแรงบิดทำให้มอเตอร์หมุนได้

2.2 หลักการของมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรง (Motor Action)
หลักการของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Motor Action) เมื่อเป็นแรงดันกระแสไฟฟ้าตรงเข้าไป
ในมอเตอร์ ส่วนหนึ่งจะแปรงถ่านผ่านคอมมิวเตเตอร์เข้าไปในขดลวดอาร์มาเจอร์สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) สร้างขั้วเหนือ-ใต้ขึ้น
จะเกิดสนามแม่เหล็ก 2 สนาม ในขณะเดียวกัน ตามคุณสมบัติของเส้นแรง แม่เหล็ก จะไม่ตัดกัน
ทิศทางตรงข้ามจะหักล้างกัน และทิศทางเดียวจะเสริมแรงกัน ทำให้เกิดแรงบิดในตัวอาร์มาเจอร์
ซึ่งวางแกนเพลาและแกนเพลานี้ สวมอยู่กับตลับลุกปืนของมอเตอร์ ทำให้อาร์มาเจอร์นี้หมุนได้
ขณะที่ตัวอาร์มาเจอร์ทำหน้าที่หมุนได้นี้เรียกว่า โรเตอร์ (Rotor) ซึ่งหมายความว่าตัวหมุน
การที่อำนาจเส้นแรงแม่เหล็กทั้งสองมีปฏิกิริยาต่อกัน ทำให้ขดลวดอาร์มาเจอร์ หรือโรเตอร์หมุนไปนั้น
เป็นไปตามกฎซ้ายของเฟลมมิ่ง (Fleming’left hand rule)


เขียนโดย คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ ที่ 7:06 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันจันทร์, พฤษภาคม 25, 2009
คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
จุดประสงค์รายวิชา / คำอธิบายรายวิชา / สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ / เนื้อหาวิชา / แผนการเรียน

จุดประสงค์รายวิชา
เพื่อให้มีความเข้าใจหลัีกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพ การใช้โปรแกรมสำหรับงานสำนักงาน การใช้อินเทอร์เน็ตและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพืองานอาชีพ ติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างและระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ จัดทำเอกสาร ตารางทำการ และนำเสนอผลงาน สืบค้นข้อมูลโดยใช้อินเทอร์เน็ต และรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์ำัีกับระบบสารสนเทศ มีกิจนิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ ด้วยความอดทน ประณีตรอบคอบและปลอดภัย

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ เพื่องานอาชีพเบื้องต้น การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้างและระบบปฏิบัติการ การใช้โปรแกรมประมวลคำจัดทำเอกสารเพื่องานอาชีพ โดยเน้นการพิมพ์เอกสารด้วยระบบสัมผัสและตรวจแก้ไขความถูกต้อง การใช้โปรแกรมตารางทำการเพื่องานอาชีพโดยเน้นการคำนวณ เช่น ต้นทุน ราคาสินค้า บัญชีรายการวัสดุ ฯลฯ การใช้โปรแกรมนำเสนองาน เน้นการสร้างกราฟและตารางและสร้างภาพเคลื่อนไหว การใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่องานอาชีพและการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศ
<<กลับบรรทัดแรก>>

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 การใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพเบื้องต้น
มาตรฐานที่1 ติดตั้งคอมพิวเตอร์ตามคู่มือ
มาตรฐานที่2 ใช้โปรแกรมประมวลคำจัดทำเอกสารเพื่องานอาชีพ
มาตรฐานที่3 ใชัโปรแกรมตารางทำการสร้างตารางทำการเพื่องานอาชีพ
มาตรฐานที่4 ใช้โปรแกรมการนำเสนอผลงาน
มาตรฐานที่5 ใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลและใช้อีเมลเพื่องานอาชีพ
<<กลับบรรทัดแรก>>

เนื้อหาวิชา
หน่วยที่1 ระบบคอมพิวเตอร์และการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่2 การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการวินโดวส์98
หน่วยที่3 การใช้งานโปรแกรม Microsoft Word 97
หน่วยที่4 การสร้างเอกสาร
หน่วยที่5 การตกแต่งและจัดหน้่าเอกสาร
หน่วยที่6 ตารางและการสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
หน่วยที่7 การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel 97
หน่วยที่8 การทำงานกับเวิร์กชีต
หน่วยที่9 การจัดรูปแบบของข้อมูลและการตกแต่งเวิร์กชีต
หน่วยที่10 สูตรฟังก์ชันและการสั่งพิมพ์เวิร์กชีตออกทางเครื่องพิมพ์
หน่วยที่11 การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม PowerPoint 97
หน่วยที่12 สไลด์และการตกแต่งสไลด์
หน่วยที่13 การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟ
หน่วยที่14 การนำเสนอผลงานและการสั่งพิมพ์งานนำเสนอออกทางเครื่องพิมพ์
หน่วยที่15 ความรู้พื้นฐานก่อนการใช้งานอินเทอร์เน็ต
หน่วยที่16 การใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
หน่วยที่17 การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตและการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
<<กลับบรรทัดแรก>>

แผนการเรียน
แผนการเรียนตลอดภาคเรียน

สัปดาห์ที่
เนื้อหาวิชา
จำนวนชั่วโมง
1
หน่วยที่1 ระบบคอมพิวเตอร์และการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
3
2
หน่วยที่2 การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการวินโดวส์98
3
3
ทดสอบครั้งที่ 1
3
4
หน่วยที่3 การใช้งานโปรแกรม Microsoft Word 97
3
5
หน่วยที่4 การสร้างเอกสาร
3
6
หน่วยที่5 การตกแต่งและจัดหน้่าเอกสาร
3
7
หน่วยที่6 ตารางและการสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
3
8
หน่วยที่7 การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel 97
3
9
หน่วยที่8 การทำงานกับเวิร์กชีต
3
10
หน่วยที่9 การจัดรูปแบบของข้อมูลและการตกแต่งเวิร์กชีต
3
11
หน่วยที่10 สูตรฟังก์ชันและการสั่งพิมพ์เวิร์กชีตออกทางเครื่องพิมพ์
3
12
ทดสอบครั้งที่ 2
3
13
หน่วยที่11 การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม PowerPoint 97
3
14
หน่วยที่12 สไลด์และการตกแต่งสไลด์
3
15
หน่วยที่13 การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟ
3
16
หน่วยที่14 การนำเสนอผลงานและการสั่งพิมพ์งานนำเสนอออกทางเครื่องพิมพ์
3
17
หน่วยที่15 ความรู้พื้นฐานก่อนการใช้งานอินเทอร์เน็ต
3
18
หน่วยที่16 การใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
3
19
หน่วยที่17 การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตและการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3
20
ทดสอบครั้งที่ 3
เขียนโดย คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ ที่ 7:13 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom) ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก
▼ 2009 (2)
▼ มิถุนายน (1)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
► พฤษภาคม (1)
คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เกี่ยวกับฉัน
คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น